วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง


    ตั้งอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทหินพนมรุ้งเป็น เทวสถานในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา ในช่วงแรกปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15-18
         ตัวปราสาทสร้างอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว คำว่า พนมรุ้งในภาษาเขมรหมายถึง ภูเขาใหญ่แสดงถึงความอลังการของภูเขาไฟลูกนี้ ได้เป็นอย่างดี ปราสาทหินพนมรุ้งประกอบด้วยหมู่อาคารต่าง ๆ ตั้งเรียงรายจากลาดเขาทางขึ้น ต่อเนื่องขึ้นไปจนถึงองค์ปรางค์ประธานบนยอด เปรียบได้ดั่งวิมาน ที่ประทับของพระศิวะ ส่วนทางเดินขึ้นทอดไปสู่สะพานนาคราช คล้ายดั่งจุดเชื่อมโยง โลกมนุษย์กับแดนสวรรค์ นับเป็นโบราณสถานฝีมือชั้นเลิศชิ้นหนึ่งที่แสดงถึง ความเจริญรุ่งเรืองในครั้งอดีตของอาณาจักรขอมโบราณ

    เป็นสถาปัตยกรรมอันเลื่องชื่อบนเส้นทางสายปราสาทหิน ตั้งตระหง่านผ่านวันเวลามาเนิ่นนาน งดงาม อ่อนช้อย แข็งแรงทรงพลัง สัมผัสได้ถึงความรุ่งเรืองในครั้งอดีตกาลใครจะเชื่อว่า ปราสาทหินแห่งนี้ตั้งอยู่เหนือปากปล่องภูเขาไฟ และในวันเวลา เดียวของปีคือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 แสงอาทิตย์จะทำมุมลอดทะลุประตู ทั้ง 15 บานของปราสาทได้อย่างพดี


 
    สามารถชมความมหัศจรรย์ของแสงอาทิตย์ส่องทะลุซุ้มประตู 15 บาน พร้อมกันได้ในช่วงเดือน เมษายน เวลาประมาณ 06.30 ถึง 7.30 น. ในวันขึ้น 15 ค่ำ ในส่วนของการเยี่ยมชมปราสาทหินพนมรุ้ง เปิดให้ชมทุกวันตามเวลาราชการ




อ้างอิง

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

งานช้างสุรินทร์


สุรินทร์ : งานต้อนรับช้างและงานเลี้ยงช้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก


    จังหวัดสุรินทร์ มีช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณอีกทั้งชาวกวยหรือกูย ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองในอดีตได้จับช้างป่ามาฝึก เพื่อใช้งานในด้านต่างๆเช่น การพาหนะ การขนส่ง รวมถึง ช้างยังมีบทบาทในการประกอบพิธีทางศาสนาและวัฒนธรรมของชาวกวย ชาวกวยแต่ละครัวเรือนจะมีช้างที่เลี้ยงไว้อาศัยอยู่รวมกัน จนช้างที่พวกตนเลี้ยงไว้เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวของตน ก่อให้เกิดสายใยความผูกพันที่แน่นเฟ้นขึ้นระหว่างคนกับช้าง ชาวกวยจึงเลี้ยงช้างในฐานะที่เป็นสัตว์เลี้ยงเสียมากกว่าจะเป็นสัตว์ที่ไว้ ใช้งาน การฝึกช้างของชาวกวยจึงเป็นการฝึกช้างให้เชื่องและปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้า ของ ด้วยความเฉลียวฉลาด และความสามารถในการปฏิบัติตามคำสั่งได้อย่างน่าอัศจรรย์ของช้างนี้เอง กลุ่มผู้นำในหมู่บ้านได้เล็งเห็น และรวมตัวกันเพื่อแสดงให้คนภายนอกเห็นถึงความผูกพันของคนกับช้างที่สามารถ อยู่ร่วมกันและสื่อสารกันได้พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงความสามารถอันแสนพิเศษ ของช้างไทย การแสดงช้างครั้งแรก จึงถือกำเนิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503 ณ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ จากความน่ารัก    ความแสนรู้ของช้างสุรินทร์ ในครั้งนั้น ด้วยเอกลักษณ์อันโดดเด่นที่สร้างชื่อเสียงและความประทับใจให้แก่ผู้ชมทั้ง ชาวไทย และชาวต่างชาติทั่วโลก


โต๊ะจีนช้าง

     ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวางจังหวัดสุรินทร์ จัดงานต้อนรับช้างและเลี้ยงอาหารช้างใหญ่ที่สุดในโลก (โต๊ะจีนช้าง) ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธาน งานดังกล่าวถือเป็นงานประจำปีของจังหวัดสุรินทร์ และมีแห่งเดียวในโลกที่จัดได้อย่างยิ่งใหญ่ มีชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจชมงานจำนวนมาก


งานแสดงช้างสุรินทร์
               

งานช้าง อ.เมือง จ.สุรินทร์ งานท่องเที่ยวประจำปีของจังหวัดสุรินทร์ ระหว่างวันที่ 10 - 21 พฤศจิกายน ของทุกปี    ในงานมีการออกบูธของหน่วยงานต่างๆ ของภาคส่วนราชการ อีกทั้งภาคเอกชน ร้านค้า ทั้งในสุรินทร์ และต่างจังหวัด ที่โดดเด่น และได้รับความสนใจจากผู้มาร่วมงานช้าง คือ การแสดงของช้างจำนวนหลายเชือก ณ สนามช้างจังหวัดสุรินทร์ (สนามแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์) และการนั่งช้างชมทัศนียภาพของงานในตัวเมืองสุรินทร์




อ้างอิง
http://www.moohin.com/isarnadmin/view-news.php?news_id=2011030913160267
http://www.obec.go.th/news/13757
http://www.taklong.com/isan/show-isan.php?No=441230