ตั้งอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทหินพนมรุ้งเป็น เทวสถานในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา ในช่วงแรกปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15-18
ตัวปราสาทสร้างอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว คำว่า “พนมรุ้ง” ในภาษาเขมรหมายถึง “ภูเขาใหญ่” แสดงถึงความอลังการของภูเขาไฟลูกนี้ ได้เป็นอย่างดี ปราสาทหินพนมรุ้งประกอบด้วยหมู่อาคารต่าง ๆ ตั้งเรียงรายจากลาดเขาทางขึ้น ต่อเนื่องขึ้นไปจนถึงองค์ปรางค์ประธานบนยอด เปรียบได้ดั่งวิมาน ที่ประทับของพระศิวะ ส่วนทางเดินขึ้นทอดไปสู่สะพานนาคราช คล้ายดั่งจุดเชื่อมโยง โลกมนุษย์กับแดนสวรรค์ นับเป็นโบราณสถานฝีมือชั้นเลิศชิ้นหนึ่งที่แสดงถึง ความเจริญรุ่งเรืองในครั้งอดีตของอาณาจักรขอมโบราณ
เป็นสถาปัตยกรรมอันเลื่องชื่อบนเส้นทางสายปราสาทหิน ตั้งตระหง่านผ่านวันเวลามาเนิ่นนาน งดงาม อ่อนช้อย แข็งแรงทรงพลัง สัมผัสได้ถึงความรุ่งเรืองในครั้งอดีตกาลใครจะเชื่อว่า ปราสาทหินแห่งนี้ตั้งอยู่เหนือปากปล่องภูเขาไฟ และในวันเวลา เดียวของปีคือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 แสงอาทิตย์จะทำมุมลอดทะลุประตู ทั้ง 15 บานของปราสาทได้อย่างพอดี
สามารถชมความมหัศจรรย์ของแสงอาทิตย์ส่องทะลุซุ้มประตู 15 บาน พร้อมกันได้ในช่วงเดือน เมษายน เวลาประมาณ 06.30 ถึง 7.30 น. ในวันขึ้น 15 ค่ำ ในส่วนของการเยี่ยมชมปราสาทหินพนมรุ้ง เปิดให้ชมทุกวันตามเวลาราชการ
อ้างอิง